ตอกเส้นคืออะไร
หลายๆท่านคงยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่าตอกเส้นเท่าไหร่นัก และแน่นอนว่าต้องมีอีกหลายท่านที่อยากรู้ว่าการตอกเส้นนั้นคืออะไร แท้จริงแล้วการตอกเส้นเป็นศาสตร์การนวดแขนงหนึ่งของทางล้านนา โดยศาสตร์นี้มีอายุมาว่า 700 ปีตามที่มีการบันทึกไว้ในพงศาวดาร โดยการตอกเส้นนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขและบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่าง เช่น อาการกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นตึง อาการปวดหรืออาการชาบนจุดต่างๆตามร่างกาย เป็นต้น โดยการตอกเส้นในสมัยปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงจนสมารถแก้ไขอาการปวดได้หลากหลายขึ้น เช่น พังผืดรัดเส้น กระดูกกดทับเส้น หมอนรองกระดูกทรุด ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
การตอกเส้นของธิติวงษ์คลินิก
หลักการตอกเส้นที่ถูกต้องนั้น ไม่ใช่การตอกไปตามเส้นหลักและแนวกระดูก หรือการตอกโดยใช้ความรุนแรงที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งการตอกเส้นที่ผิดสุขลักษณะจะทำให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีกระดูกผุหรือกระดูกบางจะส่งผลให้กระดูกร้าวได้ โดยศาสตร์ที่ธิติวงษ์คลินิกได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นจะมีลักษณะการตอกที่นุ่มนวลและมีจังหวะที่ละมุน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่รู้เจ็บปวด ผิวจะไม่เขียวช้ำ และรู้สึกผ่อนคลาย
จุดเด่นของการตอกเส้นที่ธิติวงษ์คลินิกการแพทย์แผนไทย
- ผู้เข้ารับการรักษาจะไม่เจ็บปวดทรมาณ
- สามารถแก้อาการปวดได้ทุกชนิดบนร่างกาย
- แก้อาการได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ
- เห็นผลทันที เมื่อตอกเส้นเสร็จ
การรักษาตามแนวทางของหมอธนกฤต
หมอธนกฤตผู้ก่อตั้งธิติวงษ์คลินิกการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรธิติวงษ์ได้กล่าวไว้ว่า การตอกเส้นจำเป็นต้องทำโดยผู้ที่ชำนาญการ และจะต้องใช้สมาธิอย่างมากในขณะตอกเส้น นอกจากนี้การวินิจฉัยอาการเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหมอจะต้องทราบว่าจุดที่มีปัญหาอยู่ตรงไหน ลักษณะของปัญหาคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถลามต่อไปยังจุดอื่นได้หรือไม่ วิธีการรักษาต้องทำอย่างไร โดยในขณะที่ทำการตอกเส้นเพื่อแก้อาการนั้นหมอจะต้องสัมผัสบริเวณที่ทำการตอกเส้นทุกระยะเพื่อค้นหาจุดที่มีปัญหาและเป็นการตรวจสอบผลการรักษาด้วย
ในที่นี่ขอยกตัวอย่างแนวการตอกเส้นของคนไข้รายหนึ่ง เบื้องต้นคนไข้บอกว่าเริ่มต้นปวดหลังต่อมาปวดร้าวมาที่สะโพกผ่านจุดสลักเพชร แล้วลามต่อลงมาที่หัวเข่าทั้งสองข้าง เวลาเดินยกขาไม่ค่อยขึ้น เดินไปได้ไม่ไกลจะต้องหยุดพักถึงจะพอเดินต่อได้ แนวทางการรักษาคือ ใช้การตอกเส้นช่วยคลายกล้ามเนื้อช่วยยืดเส้นที่ตึงให้หย่อนลงโดยเฉพาะบริเวณข้อพับใต้หัวเข่า หลังจากนั้นต้องตรวจต่อว่ามีเส้นไปมุดกระดูกเข่าหรือเบียดกระดูกหรือไม่ ถ้ามีอาการก็ทำการตอกบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ยาสมุนไพรบางขนานสามารถนำมาใช้ควบคู่กัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ขาที่เคยอ่อนแรงจะกลับคืนเป็นปกติได้เร็วขึ้น
บทความโดย หมอธนกฤต