ตอกเส้นเป็นศาสตร์การนวดแขนงหนึ่งของทางล้านนา โดยศาสตร์นี้มีอายุมากว่า 700 ปี โดยการตอกเส้นนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขและบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่าง เช่น อาการกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นตึง อาการปวดหรืออาการชาบนจุดต่างๆตามร่างกาย เป็นต้น โดยการตอกเส้นในสมัยปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงจนสมารถแก้ไขอาการปวดได้หลากหลายขึ้น เช่น พังผืดรัดเส้น กระดูกกดทับเส้น หมอนรองกระดูกทรุด ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
การตอกเส้นรักษาของหมอธนกฤตมีจุดเด่นอย่างไร?
- ผู้เข้ารับการรักษาจะไม่เจ็บปวดทรมาณ
- สามารถแก้อาการปวดได้ทุกชนิดบนร่างกาย
- แก้อาการได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ
- เห็นผลทันที เมื่อตอกเส้นเสร็จ
ศาสตร์แห่งการตอกเส้นของธิติวงษ์คลินิก
หลักการของการตอกเส้นที่ถูกต้องนั้น ไม่ใช่การตอกไปตามเส้นหลักและแนวกระดูก หรือการตอกโดยใช้ความรุนแรงที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการตอกเส้นที่ผิดสุขลักษณะจะทำให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีกระดูกผุหรือกระดูกบางจะส่งผลให้กระดูกร้าวได้ โดยศาสตร์ที่ธิติวงษ์คลินิกได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จะมีลักษณะการตอกเส้นที่นุ่มนวลและมีจังหวะที่ละมุน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่รู้เจ็บปวด ผิวจะไม่เขียวช้ำ และรู้สึกผ่อนคลาย
ศาสตร์การตอกเส้นของหมอธนกฤต ผู้ก่อตั้งธิติวงษ์คลินิกการแพทย์แผนไทย จะไม่เน้นการใช้ความรุนแรงแต่จะใช้ความนุ่มนวลในการตอกและตอกเส้นอย่างมีจังหวะ ซึ่งแม้แต่เด็กและคนชราสามารถเข้ารับการรักษาได้ โดยการตอกเส้นศาสตร์นี้เปรียบได้กับการแกะสลัก โดยค่อยๆตอกเส้นแก้ไปตามจุดที่มาปัญหา ลึกบ้าง ตื้นบ้าง ปรับจังหวะและน้ำหนักให้เหมาะสมในแต่ละส่วนของร่างกาย เพื่อทำให้ผู้เข้ารับการรักษาลดความเจ็บปวด ทรมาณจากอาการที่เป็นอยู่
หากอาการปวดบนร่างกายเกิดจากเส้นเอ็น อาการปวดเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นตามเส้นหลัก แต่การปวดนั้นมักเกิดขึ้นตามเส้นรองซึ่งอยู่ใกล้กระดูก การตอกเส้นที่ถูกต้องจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการแก้ไขในจุดที่มีปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการตอก การเคาะไม้เพียงเบาๆจะสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังจุดที่มีปัญหาได้ ผู้ที่เข้ารับการรักษาจะสามารถรับรู้ถึงแรงที่ส่งลงมาได้ อย่างไรก็ตามการตอกเส้นอย่างถูกต้องจะไม่ทำให้เจ็บปวดทรมาณ แต่จะสร้างความผ่อนคลายให้แก่ผู้ที่เข้ารับการรักษา (ในบางกรณีที่จำเป็นต้องตอกเส้นไปตรงบริเวณที่มีปัญหา ผู้ที่เข้ารับการรักษาบางท่านจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย)



การตอกเส้นสามารถทำได้บนทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งในแต่ละอวัยวะจะมีตำแหน่งที่สามารถตอกได้แตกต่างกันและจะมีข้อควรระวังเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งผู้ที่ทำการตอกเส้นจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญและความเข้าใจในการรักษาในแต่ละส่วนของร่างกาย เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุดและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่เข้ารับการรักษา
การตอกเส้นสามารถรักษาอาการได้หลายอาการ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดจากพังผืด ขาไม่มีแรง ปวดต้นขาด้านหลัง ยกขาไม่ขึ้น ยกแขนไม่ขึ้น ปวดหลัง หลังไม่เท่ากัน ขาสองข้างสั้นยาวไม่เท่ากันอันเนื่องจากเส้นตึงรั้งบริเวณสะโพก ออฟฟิศซินโดรม รองช้ำ และอาการปวดทุกจุดบนร่างกาย