ความจริงแล้วอาการปวดเมื่อย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่จากประสบการณ์ที่ผมได้รักษาคนมาเป็นจำนวนมากและเป็นเวลานานมากว่า 2 ทศวรรษ อาการปวดเมื่อยบนร่างกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 จุดปวดหลัก และ 2 จุดปวดรองดังนี้
จุดปวดหลักของอาการปวดเมื่อยที่พบบ่อยที่สุด
- อาการปวดเมื่อยบริเวณ คอ บ่า ไหล แขน สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดก็คืออิริยาบถของเรา รวมไปถึงท่าทางที่เราใช้ทำงาน ซึ่งหากเป็นอิริยาบถที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การทำท่าทางเดิมๆต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการปวดในบริเวณนี้ ซึ่งการรักษาอาการปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ จะสามารถทำได้แค่การบรรเทา เมื่อกลับมาทำท่าเดิม อาการปวดก็จะกลับมาใหม่
- จุดปวดบริเวณหลัง คำว่าหลังในที่นี้หมายถึงบริเวณตั้งแต่สุดคอลงมาจนถึงช่วงสะโพกส่วนบน ซึ่งสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณนี้ก็คือ การนั่งอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณหลัง
- จุดปวดที่คนนิยมเป็นมากที่สุดก็คือบริเวณขา นับตั้งแต่บริเวณสะโพกลงมาถึงสุดปลายเท้า โดยอาการปวดที่ขาจะเกิดจาก 4 เหตุหลัก ได้แก้ อาการเส้นและกล้ามเนื้อตึง เป็นอาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่แข็งตัวหรือมีพังผืด อาการที่ 2 คือเส้นเบียดกระดูก ซึ่งพัฒนามาจากกล้ามเนื้อแข็งตัว โดยหลักๆแล้วเกิดจากการที่กล้ามเนื้อแข็งตัวและถูกปล่อยไว้นานจนกล้ามเนื้อไปเบียดเส้นทำให้เกิดอาการปวด และมักมีพังผืดเข้าร่วมด้วย อาการที่ 3 โรคข้อเข่าเสื่อม คนที่เป็นจะไม่สามารถนั่งคุกเข่าได้ มักเกิดกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณเข่า และอาการสุดท้ายคือ โรคไขสันหลังอักเสบ ผู้ที่เป็นจะมีอาการปวดบริเวณต้นขาด้านหลังลงมาถึงข้อพับเข่า หรือบางรายที่อาการรุนแรงจะปวดลงมาถึงปลายขา และเดินได้ไม่ไกลนัก
บริเวณที่พบอาการปวดได้บ่อยรองลงมา
- จัดที่พบอาการปวดรองลงมาอันดับแรกก็คือมือ มือที่จะมีปัญหาเจ็บปวดมีอยู่ 2 อย่างคือ นิ้วล๊อคกับนิ้วแข็ง นิ้วแข็งกับนิ้วล๊อคมีควานแตกต่างกันอย่างไร? อาการนิ้วแข็งจะมีลักษณะเด่นคือ กำมือไม่ค่อยได้ เวลากำแล้วมีอาการปวดเข้าร่วม นิ้วล๊อค จะมีลักษณะเด่นคือเมื่อกำมือแล้วเวลาจะเหยียดนิ้วออกจะทำได้ยากและปวดนิ้ว
- บริเวณใต้ผ่าเท้าเป็นอีกจุดที่พบได้บ่อย บริเวณใต้ฝ่าเท้าจะมีจุดปวดอยู่ 3 แห่งด้วยกัน ประกอบไปด้วยจุดแรกบริเวณส้นเท้า เรียกว่ารองช้ำ จุดที่2คือบริเวณกลางฝ่าเท้า อาการปวดมักเกิดจากเส้นรั้งตึง และสุดท้ายคือบริเวณพื้นที่อยู่ใต้นิ้ว ซึ่งส่วนมากมักเกิดจากอุบัติเหตุหรือมีอาการปวดที่เกิดจากตาปลา
ข้อควรระวังเมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย
คนส่วนใหญ่เมื่อเกิดอาการเจ็บปวดขึ้นมักจะหาซื้อยาแก้ปวด ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อยามากินเอง ซึ่งยาแก้ปวดจะมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเท่านั้น มิได้ไปรักษาจุดที่มีอาการปวด และในยาบางชนิดมีสารสเตียรอยด์ ซึ่งจะไปกดระบบประสาททำให้ไม่รับรู้อาการปวด ทำให้คนไข้เข้าใจว่าตนเองหายแล้ว จึงใช้ร่างกายตามปรกติ โดยมิได้ระวังในจุดปวดจึงทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เราจะสังเกตได้ว่าตลอดเวลาที่เราใช้ยาแก้ปวดเราจะรู้สึกว่าดีขึ้นทันทีหลังได้กินยา แต่ไม่นานเมื่อนาหมดฤทธิ์ก็จะกลับมามีอาการเจ็บปวดใหม่ ต่อไปจะต้องใช้ยาที่แรงขึ้นและกินยาบ่อยขึ้นซึ่งยาเหล่านี้หากทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน สารตกค้างจากยายังผลเสียต่อร่างกายได้อีกด้วย
สิ่งที่ผมอยากฝากไว้ก็คือให้ทุกท่านหมั่นตรวจสอบตัวเอง ว่ามีอาการปวดอะไรที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายบ้าง อย่าปล่อยไว้ให้เนิ่นนานจากอาการเล็กน้อยกลายเป็นรุนแรง สร้างความทรมาณให้กับตนเอง