อาการปวดเมื่อย

อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ

อาการปวดเมื่อยต่างๆในผู้สูงอายุแทบจะเกิดขึ้นในเกือบทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งหลักๆแล้วร่างกายของมนุษย์เราจะสึกกร่อนและเสื่อมสภาพไปตามวัย

โดยอาการปวดในผู้สูงวัยหลักๆแล้วมีดังนี้

  • อาการปวดหลังอันเนื่องมาจากการนั่ง การนอน ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การนั่งไม่เต็มก้น การนั่งแบบครึ่งนั่งครึ่งนอน นั่งเอียงข้างในข้างหนึ่ง การนอนขดตัว เป็นต้น ซึ่งท่าทางเหล่านี้เป็นท่าที่เราทำแล้วรู้สึกสบาย แต่ส่งผลเสียให้กับร่างกายอย่างมหาศาล และนับได้ว่าเป็นต้นเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยอีกด้วย ในบางรายชอบนั่งหลังค่อม เดินหลังค่อมตั้งแต่เป็นวัยรุ่น พอเริ่มมีอายุจะมีอาการปวดหลังเร็วกว่าคนปกติ
  • ข้อเข่าที่ต้องรับน้ำหนักตัว เกิดการสึกของกระดูกอ่อน ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม ในทางกลับกันบางรายรู้สึกเมื่อยเวลาเดินเลยไม่ชอบขยับตัว ส่งผลให้เกิดหินปูนเกาะข้อเข่า ทำให้ขยับตัวลำบากไปอีก
  • กล้ามเนื้ออักเสบซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การยกของหนักหรือการออกกำลังกายหนักเกินไป โดยเมื่อปล่อยทิ้งไว้อาจมีพังผืดร่วมด้วย โดยทั่วไปคนเรามักมองข้ามเรื่องนี้ไป เพราะในช่วงแรกของอาการจะมีอาการเมื่อยเพียงเล็กน้อย แต่หากมีการใช้กล้ามเนื้อที่จุดเดิม ก็จะเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นจนในที่สุดอาการปวดจะมากขึ้นจนทนไม่ไหวกันเลยทีเดียว
  • อาการปวดจากเส้นเอ็น มักเกิดในเวลากลางคืนหรือเมื่ออยู่ในที่อากาศเย็น เส้นเอ็นของคนเราจะมีลักษณะเหมือนยางยืด เมื่อโดนความเย็น เส้นเอ็นจะหดตัวลงและตึงขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดได้ ซึ่งผู้ที่มีอาการปวดมาก เส้นเอ็นของผู้นั้นมักมีอาการตึงอยู่ก่อนแล้ว โดยสามารถเกิดได้จากการถูกกดทับโดยกล้ามเนื้อ หรือถูกพังผืดยึดรั้งเอาไว้นั่นเอง
  • อาการปวดน่อง เนื่องจากการยืนเป็นเวลานานๆต่อเนื่องกัน หรือเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง ส่งผลให้เกิดเส้นเลือดขอด เส้นเลือดขอดอาจเกิดได้จากการที่กล้ามเนื้อแข็งตึง กดทับเส้นเลือดให้การเดินเลือดไม่สะดวก ทำให้เกิดอาการปูดบวมของเส้นเลือดได้
  • อาการปวดเมื่อยคอสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบมากในผู้สูงอายุมักเกิดจาการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่นการนอนหนุนหมอนที่นิ่มเกินไป การหนุนหมอนที่สูงเกินไป การนอนตะแคงแล้วหัวไม่ได้หนุนหมอน ทำให้หัวพยายามเดิน-นั่ง หรือปรับอิริยาบถต่างๆ ให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้องเสมอ ที่สำคัญนั่ง-เดิน ให้หลังตรง

หากเกิดอาการปวดเมื่อยขึ้นแล้ว จะนำพามาซึ่งความไม่สบายตัวและยังส่งผลกระทับต่อจิตใจอีกด้วย เนื่องจากอาการปวดต่างๆส่งผลในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเดินได้ วิ่งได้ ยกแขนได้สุด หยิบจับอะไรก็ได้ นอนอย่างไรก็ได้ กลายเป็นทำอะไรก็ไม่สะดวก ทำอะไรก็เจ็บ ก็ปวด ซึ่งทางที่ดีที่สุดไม่ใช่การรักษา แต่เป็นการป้องกัน โดยมีวิธีง่ายๆดังนี้

  • เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เช่น เมื่อนั่งไปซักระยะเวลาหนึ่งต้องเปลี่ยนเป็นลุกขึ้นเดิน แกว่งแขน เพื่อไม่ให้อยู่ในท่าเดิมๆนานเกินไป ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นได้ทำงานให้มีความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้เกิดการกดทับบนจุดใดๆเป็นเวลานานเกินไป
  • พยายามเปลี่ยนท่าทาง การเดิน การนั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะให้กลับมาถูกต้องเช่น เลิกนั่งหลังงอ เลิกนั่งไม่เต็มก้น เลิกครึ่งนั่งครึ่งนอน เลิกนั่งเอียงตัว เลิกเดินหลังค่อม เลิกเดินแอ่น เป็นต้น ซึ่งการเลิกอิริยาบถที่เป็นความเสี่ยงเหล่านี้นอกจากช่วยให้ไม่เกิดการปวดแล้ว ยังทำให้บุคลิกดีขึ้นอีกด้วย
  • ห้ามผู้สูงอายุยกของหนัก หากจะยกของห้ามก้มลงไปยก ต้องใช้วิธีนั่งยองลงไปก่อนแล้วยกขึ้นมาเท่านั้น และที่สำคัญห้ามแบกของหนักขึ้นหลังหรือขึ้นบ่าเด็ดขาด
  • สำรวจเครื่องนอน ไม่ว่าจะเป็นหมอนหรือที่นอน โดยที่นอนต้องไปนุ่มหรือแข็งจนเกินไป หากเตียงมีความนุ่มเกินไปจะทำให้เกิดการปวดหลังเพราะเมื่อนอนหงายหลังจะโก่งลงไปตามเตียงที่ยุบตัว ในทางตรงกันข้ามเตียงที่แข็งเกินไปจะทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการนอนทับกระดูกได้ เช่นเดียวกันกับหมอน ต้องเลือกที่มีความเหมาะสม ไม่นุ่มยวบ หรือแข็งเกินไป
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มีน้ำหนักมากจนเกินไป เพราะเมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้น ส่วนต่างๆของร่างกายที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักต้องทำงานหนักงาน ซึ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆย่อมเสื่อมลง หากต้องรับภาระจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ง่าย
  • ระวังอย่าให้ข้อเข่าถูกระทบกระเทือน และผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมควรงดการออกกำลังกายที่ส่งผลต่อข้อเข่าเช่น การเต้นแอโรบิค การวิ่ง แต่ใช้การเดินช้าๆแทน

โดย หมอธนกฤต

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Discover more from ธิติวงษ์คลินิกการแพทย์แผนไทย | ตอกเส้นไม่เจ็บ โดย หมอธนกฤต

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading