หลายๆท่านคงเคยสังเกตเห็นว่าทำไมเวลาอยู่ในห้องแอร์หรือเวลานอนตอนกลางคืนมักมีอาการปวดเมื่อยเกิดขึ้น หรือมีอาการที่รุนแรงมากกว่าปกติ ทั้งๆที่ไม่ได้ขยับตัวมากมาย วันนี้ผมจะขอพูดถึงความสัมพันธ์ของการปวดเมื่อยกับอุณหภูมิให้ได้ทำความเข้าใจกันครับ
เป็นที่ทราบกันดีว่าอากาศในตอนกลางคืนจะหนาวเย็นกว่าตอนกลางวัน และในขณะที่เรานอนพักผ่อนเราจะอยู่นิ่งๆไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเหมือนตอนที่เราทำงานในตอนกลางวัน การเผาผลาญภายในร่างกายจึงไม่เท่ากัน อากาศที่เย็นจะทำให้ไขมันเกาะตามผนังเส้นเลือด คนที่มีไขมันเกาะตามผนังเส้นเลือดมากกว่าเมื่อถูกอากาศเย็นจากภายนอกร่างกายจะทำให้ไขมันที่เกาะตามผนังเส้นเลือดค่อยๆแข็งตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ไขมันเกาะหนากว่าก็จะแข็งมากกว่า เมื่อชั้นของไขมันที่แข็งมากกว่า หนากว่า และเกาะนานวันกว่าก็จะส่งผลทำให้เส้นเลือดที่ถูกไขมันเกาะมีการไหลเวียนของเลือดที่ลดลงในขณะเดียวกันตัวเส้นเลือดเองก็จะมีความแข็งขึ้นด้วย นอกจากนี้ในห้องแอร์ที่มีกาศเย็นยังทำให้กล้ามเนื้อหดตัวลงและยิ่งทำให้การไหลเวียนเลือดลำบากยิ่งขึ้น และนั่นก็เป็นจุดให้การปวดเมื่อยทวีความรุนแรงมากขึ้นนั่นเอง
อาหารจำพวกไขมันรูปแบบต่างๆที่เรารับประทานเข้าไปแล้วนั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเผาผลาญเป็นพลังงาน อีกส่วนหนึ่งจะถูกเก็บสะสมเอาไว้ในร่างกายและส่วนเกินที่เหลือจะถูกขับออกจากร่างกาย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นเมืองหนาวเช่น ยุโรป คนยุโรปจะบริโภคไขมันเพื่อรองรับสภาพอากาศหนาวเหน็บแต่แปลงเป็นพลังงาน แต่กับภูมิอากาศร้อนแบบประเทศเรา ไขมันจึงมีความจำเป็นน้อยกว่ามาก เมื่อคนเราอายุมากขึ้น การเผาผลาญและการขับไขมันอาจไม่มีประสิทธิภาพดีเหมือนกับตอนอายุน้อยๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดมีไขมันหลงเหลือเยอะเกินความจำเป็น และไปจับเกาะตามอวัยวะต่างๆรวมไปถึงผนังหลอดเลือด หากไม่มีการเผาผลาญไขมันส่วนเกินให้ออกไป ก็จะยิ่งทำให้เกิดการสะสมไขมันที่ไม่จำเป็นมากขึ้นไปเรื่อยๆ
อาการที่เกิดจากอุณหภูมิที่ต่ำลงและไขมันสะสมมีดังนี้
- ที่เส้นไขมันเกาะตามเส้นเลือดมากจะมีความเสี่ยงในการปวดเมื่อยมากกว่า และหากอยู่ในที่อากาศเย็นจะทำให้เกิดการปวดที่รุนแรงกว่า
- เส้นเลือดที่แข็งและขาดความยืดหยุ่นจะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดแตกง่ายกว่าเส้นเลือดที่อ่อนนุ่มกว่าซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า
- ผู้ที่มีอาการเส้นบริเวณคอ บ่า ไหล่ตึงมากหรือกล้ามเนื้อที่ คอ บ่า ไหล่มีอาการเกร็งตัวและแข็ง ควบคู่ไปกับการมีอาการหูอื้อ ตาลาย ตาพล่ามัว ปวดขมับ (ไมเกรน) แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงประสาทหูและประสาทตาไม่พอ และจะเกิดอาการปวดหัว
- สำหรับผู้ที่เส้นบริเวณคอตึงมาก จะมีความเสี่ยงที่เส้นเลือดจะนำเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ซึ่งส่งผลต่อความจำ ถ้าหนักกว่านั้นทำให้ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย แล้วเลื่อนมาปวดที่กลางกระหม่อม จากนั้นจะมาปวดรอบๆกระบอกตาทั้ง 2 ข้าง อาการปวดที่ว่ามานี้เรียกว่าเป็นอาการปวดจากโรคไมเกรน และถ้าเป็นบ่อยๆอาจจะทำให้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันได้