ท่านอนคว่ำ

ในท่านอนคว่ำนี้จะมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะติดมาจากการนอนคว่ำในเด็ก เนื่องจากพ่อแม่จับให้นอนท่านี้เพื่อให้ได้หัวที่ทุยสวย ในขณะที่นอนหลับในท่านอนคว่ำ หากนอนคว่ำแล้วตะแคงหน้าไปทางเดียว จะส่งผลให้ใบหน้าไม่เท่ากัน

ในขณะที่นอน หากมือหรือแขนไม่ถูกร่างกายนอนกดทับ ปัญหาเรื่องอาการปวดมือและแขนก็จะไม่มี คล้ายกับท่านอนหงายที่เอาแขนวางแนบตัว ถือได้ว่าการนอนหงายและนอนคว่ำจะมีข้อดีที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับมือและแขน แต่ในทางตรงกันข้าม เวลานอนคว่ำจะตะแคงหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำให้กระดูกต้นคอบิดไปด้วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดต้นคอได้ง่าย

ข้อดีอีกประการหนึ่งของการนอนคว่ำคือ จะช่วยให้เด็กเล็กๆนอนหลับสนิท ไม่เกิดอาการผวา หรือเกิดการผวาได้ยาก การนอนคว่ำยังช่วยให้รูปทรงของศีรษะสวยงาม ไม่แบนเหมือนนอนหงาย และช่วยให้ใบหน้าเป็นรูปไข่ ซึ่งเป็นลักษณะของใบหน้าที่นิยมกันในขณะนี้

แต่อย่างไรก็ตาม การนอนคว่ำจะว่าดีหมดก็ไม่ได้ มีข้อด้วยคือ การนอนคว่ำน้ำหนักตัวจะกดทับลงไปติดกับกระดูกซี่โครง ทำให้ช่องว่างในทรวงอกมีพื้นที่เหลือน้อยลง ซึ่งอาจกระทบต่อการทำงานของหัวใจและปอดที่ต้องการช่องว่างของทรวงอกในตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะทั้งสอง ทำให้การทำงานไม่ค่อยคล่องตัว ผู้ที่ไม่เคยนอนคว่ำเมื่อนอนคว่ำจึงรู้สึกอึดอัด หายใจไม่ค่อยสะดวก บางคนอาจชอบนอนคว่ำเพื่ออ่านหนังสือ กรณีนี้จะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากเพราะเราต้องยกตัวขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังอีกด้วย

จบจากที่นั่งและท่านอนแล้ว ในตอนต่อไปผมจะมาพูดถึงเรื่องการยืนนะครับ

บทความโดย หมอธนกฤต

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

%d bloggers like this: