นอนดึกกับหัวใจ

หัวใจทำหน้าที่ปั๊มและสูบฉีดเลือดที่อุดมไปด้วยสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างกายโดยเฉพาะสมอง เมื่อหัวใจทำงานปอดก็ต้องทำงานด้วยโดยการฟอกเลือดดำให้กลายเป็นเลือดแดง เมื่อเรานอนดึกหัวใจต้องทำงานหนักและนานขึ้น หากเวลาพักน้อย หัวใจของคนเราซึ่งเป็นกล้ามเนื้อไม่ใช่ถูกสร้างขึ้นด้วยโลหะย่อมต้องเกิดอาการอ่อนล้า เมื่อนานวันเข้าจากอาการหัวใจอ่อนล้าจะสามารถพัฒนากลายมาเป็นโรคหัวใจได้ในหลายๆรูปแบบเช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจโต หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจฝ่อได้

ท่านอนคว่ำ

ในท่านอนคว่ำนี้จะมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะติดมาจากการนอนคว่ำในเด็ก เนื่องจากพ่อแม่จับให้นอนท่านี้เพื่อให้ได้หัวที่ทุยสวย ในขณะที่นอนหลับในท่านอนคว่ำ หากนอนคว่ำแล้วตะแคงหน้าไปทางเดียว จะส่งผลให้ใบหน้าไม่เท่ากัน

ท่านอนตะแคง ตอนที่3

วันนี้ผมจะขอกล่าวถึงเรื่องเมื่อนอนตะแคงเป็นประจำแล้ว อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณสีข้างกับสะโพก เมื่อเกิดแล้วจะแก้ไขได้ยากเพราะส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าอาการปวดที่จะกล่าวถึงนี้เกิดจากอะไร วันนี้ผมจะพูดถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากท่านอนกันนะครับ

ท่านอนตะแคง ตอนที่2

การนอนตะแคง และยกมือขึ้นไปเหนือศีรษะ การนอนในท่านี้เป็นประจำทำให้มีปัญหาอยู่ 2 อย่าง คือ อาจจะเกิดจุดกดทับเส้นเลือด ที่บริเวณหัวไหล่และกล้ามเนื้อที่ซอกไหล่ เมื่อนอนท่านี้ติดต่อกันนานๆ อาจจะส่งผลต่อเนื่อง ทำให้ปวดเส้นต่อลงมาที่ศอกและข้อมือได้ (ลองกลับไปอ่าน เรื่องการกดทับเส้นเลือด ที่ผมเคยเขียนอธิบายไว้แล้วนะครับ) ส่วนกล้ามเนื้อที่ซอกไหล่ เมื่อมีปัญหาแล้วจะส่งผลต่อการใช้แขนข้างนั้นทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้กำลัง อาจมีปัญหาเรื่องการยกแขน การเอื้อมมือไปที่หลังแล้วยกได้ไม่สูง

การนอนตะแคง

ถัดจากท่านอนหงาย มาดูท่านอนที่ 2 ครับ คือท่านอนตะแคง การนอนตะแคงไม่ว่าจะตะแคงไปทางซ้ายหรือขวา จะมีผลเสียต่อร่างกายเกือบเหมือนกัน แต่หากนอนตะแคงซ้ายข้างเดียวและนอนแบบนี้ทุกวัน ทรวงอกจะถูกกดทับ ทำให้การทำงานของหัวใจอึดอัดไปหน่อย แต่ผู้ที่นอนตะแคงซ้ายเป็นประจำอาจจะเคยชิน

ท่านอนหงาย

เรามาดูประโยชน์ของท่านอนหงายกันต่อครับ การนอนหงายนอกจากจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อรูปหน้า กล่าวคือ ผู้ที่นอนหงายเป็นประจำจะติดท่านอนนี้ ในขณะที่หลับอาจจะนอนตะแคงซ้ายตะแคงขวา แต่จะนอนตะแคงได้ไม่นานจะต้องกลับมาท่านอนหงายตามเดิม